วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทบาทของผู้บริหารยุค IT

การเป็นผู้บริหารยุคใหม่ควรมีการพัฒนาตนเอง เก่งและมีวิสัยทัศน์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ถูกต้อง โดยผู้บริหารควรยึดความเป็นผู้นำ เพราะผู้บริหารมีอิทธิพลต่อกลุ่มคน โดยผู้นำจะต้องมีการวางแผนและจัดระเบียบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและนำไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพราะผู้นำจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจ จึงจะมีอิทธิพลเหนือคนอื่น และผู้บริหารหรือผู้นำยุคใหม่ต้องใส่ใจพัฒนาตนเองกับระบบเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน อาทิ การฝึกพิมพ์เอกสารด้วยตนเอง การเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้วยตนเองการใช้อีเมล์ในการโต้ตอบหรือส่งเอกสาร ร่วมประชุมและรายงานผลผ่านระบบสารสนเทศ มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างรูปแบบหรือสถานการณ์จำลอง จึงจะสามารถเป็นผู้บริหารหรือผู้นำที่ลูกน้องในปกครองยกย่อง ชมเชย ดังคำกว่าวที่ว่า “หากจะครองใจคนจะต้องครองใจตนและฝึกฝนให้ตนเองเก่งกว่าลูกน้อง เพื่อที่ว่าเวลาลูกน้องหรือผู้อยู่ภายใต้การปกครองสอบถามจะได้ชี้แจงได้ถูกต้อง แม่นยำและมั่นใจ”

บทบาทของผู้บริหารยุค IT
เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต   การให้บริการส่งข่าวสาร SMS   หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ     ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
            เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว ต่างกับผู้นำอีกแบบ ซึ่งเป็นผู้นำที่ดีจนไม่ค่อยได้กล่าวขวัญถึง เช่น พระพุทธเจ้า พระโมฮัมหมัด พระเยซู เป็นต้น ซึ่งถือเป็นผู้นำทางสติปัญญา ซึ่งถึงแม้จะพ้นยุคสมัยไปแล้ว ผู้คนก็ยังนำคำสั่งสอนมาปฏิบัติกันจนถึงยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการบริหาร ผู้นำยังคงเป็นความคาดหวังสูงสุดในการแบกรับภาระ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่ทว่า บทบาทผู้นำในยุคของพระนเรศวรมหาราชกับผู้นำของวันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจ หากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจ ไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วม ก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้นำยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ 
            ก้าวล่วงมาถึงยุคปัจจุบัน จากกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการคือ การปฏิรูปการศึกษา มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ ในการบริหารจัดการงานด้านการศึกษาต่างๆ หลั่งไหลเข้ามาในระบบโรงเรียนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง หากผู้บริหารจะยังคงยืนนิ่งอยู่ไปวันๆยึดสุภาษิต “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” หรือคติว่า อยู่เฉยๆรอดูเขาไปก่อนถ้าจำเป็นจริง  ก็ลอกเขาก็ได้แล้วละก้อ คงจะต้องจมน้ำตายหรือถูกกระแสน้ำพัดหายไปจากระบบในไม่ช้า ผู้แกร่งกล้าเท่านั้นที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างสมภาคภูมิ ได้รับการยอมรับและยกย่องจากวงสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องสร้างศักยภาพของตนเองให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เพื่อให้สอดรับกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามความคาดหวังของสังคม คุณลักษณะสำคัญที่ผู้บริหารยุคใหม่ควรศึกษาและนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะขอนำเสนอ ดังนี้
            1. การพัฒนาตนเอง  ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ รักความก้าวหน้า หมั่นศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เปิดกว้างสำหรับทุกคน บุคลากรในโรงเรียนส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ผู้บริหารจึงควรพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารการศึกษา ทั้งนี้มิใช่เพียงเพื่อให้มีใบปริญญามาประดับเกียรติ แต่เพื่อให้ทรงภูมิรู้ มีความคิดที่ก้าวไกล สามารถนำพาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายปลายทางได้อย่างเป็นระบบ และรวดเร็ว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด แต่เกิดประโยชน์สูงสุด
            2. เก่งและมีวิสัยทัศน์  หมายถึง การเป็นผู้บริหารที่มีความรอบรู้คือ รู้จริง  รู้กว้าง รู้ลึก ของทุกเรื่องในระบบการบริหารงานของโรงเรียนที่รับผิดชอบ สามารถมองเห็นภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กรได้ดังนั้นผู้บริหารยุคใหม่จะต้องมีความเก่งทั้ง 3 ประการดังนี้คือ เก่งตน เก่งคนและเก่งคิด เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนพึงมี บุคคลที่บริหารงานสำเร็จตามเป้าประสงค์ได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติในการครองตน รู้จักธรรมชาติ จุดเด่น จุดด้อยของผู้ร่วมงาน และรู้จักการวางแผนงานที่รัดกุมชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้มองเห็นแนวทางในการพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพได้ อย่างเป็นระบบและประสบผลสำเร็จในอนาคตได้
            3. เป็นยอดนักจัดการ   ความสามารถในด้านบริหารจัดการที่ผู้บริหารพึงมีคือ การมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการทั้งคนและงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริหารตัดสินใจบริหารจัดการในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการและวางแผนงานทุกด้านในโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบ มีความสามารถวัดและประเมินผลงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งรายงานหน่วยงานต้นสังกัดได้ทันตามกำหนดเวลา มีระบบงานสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและทันสมัย สามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจสั่งการได้ทันเหตุการณ์ ทั้งนี้การบริหารจัดการงานทุกอย่างล้วนมีเป้าหมายสูงสุดที่การยึดประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
            4. เป็นผู้ประสานที่ดี ในโรงเรียนหนึ่งแห่งจะมีคน 10 คนหรือ 100 คนก็เหมือนกันคือ ผู้บริหารจะต้องทำงานกับคน แต่ที่ไม่เหมือนกันคือ ผู้บริหารคนใดจะสามารถประสานให้คนเหล่านั้นเข้ากันได้มากที่สุดเท่านั้น ถ้าผู้บริหารมีเทคนิค มีความสามารถในการครองใจคนโดยใช้หลักการ “ประสานใจสู่การประสานคน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สิ่งที่จะได้ตามมาคือความสามัคคีในหมู่คณะที่จะรวมพลังกันขับเคลื่อนการ พัฒนางานด้านการศึกษาสู่ ความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์
            5. เทคโนโลยีนำใช้ ยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ เราสามารถย่อโลกกว้างใหญ่มาไว้ตรงหน้าเราได้ ผู้บริหารจึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามคุณค่าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ควรนำมาปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานที่รับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบของการคิดค้น จัดหา ผลิตสื่อ เครื่องมือ เทคนิควิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมผู้เรียนและองค์กร
            6. ฉับไวแก้ไขสถานการณ์  ความเคลื่อนไหวของสถานการณ์รอบด้านภายใต้กระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองและเปิดใจยอมรับในความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ และนำมาใช้เพื่อการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์หรือวิกฤตต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การตัดสินใจที่ผิดพลาดย่อมนำมาซึ่งการสูญเสียผลประโยชน์ เสียทรัพยากร เสียโอกาส ตลอดจนเสียความรู้สึกที่ดี หรือแม้กระทั่งเสียความมั่นใจในตนเองไป  ซึ่งไม่อาจจะเรียกกลับคืนมาได้ การคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดกับผู้เรียน และส่วนรวมก่อนการตัดสินใจ การเลือกสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างฉับไวทันต่อสถานการณ์และอยู่ในเวลา ที่กำหนด จึงเป็นคุณลักษณะสำคัญยิ่งที่ผู้บริหารพึงมี

ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ 
ความหมายและประเภทของผู้นำ 
            ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ 
            1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ
                        1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
                        1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  (Charismatic Leadership) คือ ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้
                        1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership) คือ ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
            2.  ผู้นำตามการใช้อำนาจ  
                        2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโคยรวบอำนาจ ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น   ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ฮิตเลอร์ 
                        2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย คือ ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
                        2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้   ฉะนั้น   นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก
               3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก  จำแนกเป็น  3 แบบ คือ
                        3.1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา  (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่        คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ   หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์   วิจารณ์   คาดโทษ   แสดงอำนาจ
                        3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulator Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง  โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
                        3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff  ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพ  อีริก   เบิร์น  จิตแพทย์ชาวอเมริกัน  ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3 องค์ประกอบ  คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child  egostate )  ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง  (Parents  egostate)  ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ
            1.  ภาวะความเป็นเด็กในรูปแบบผู้นำ  ผู้นำที่มีลักษณะเช่นนี้จะเป็นคนที่  เอาแต่ใจตัวเอง  ก้าวร้าว  ดื้อรั้น  กระตือรือร้น  ไม่กล้าตัดสินใจ  มีความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นภาวะของผู้นำที่เต็มไปด้วยความคิดแต่ไม่ทำ 
            2.  ภาวะผู้ใหญ่ในรูปแบบผู้นำ  ผู้นำแบบนี้จะเป็นคนที่มีการวิเคราะห์  และสนใจข้อมูลเป็นหลัก เป็นคนที่มุ่งความสำเร็จ  โดยไม่สนใจความรู้สึกของลูกน้อง  อยู่ในโลกแห่งเหตุและผล  ไม่มีอารมณ์ขันพูดง่าย ๆ ก็คือ  เป็นคนที่จริงจังกับทุกเรื่องโดยเฉพาะกับลูกน้อง 
            3.  ลักษณะภาวะพ่อแม่ในแบบผู้นำ ผู้นำเช่นนี้จะเป็นผู้นำที่ออกจะเผด็จการ  ติชมลูกน้องเสมอ  ถ้าดีจะเป็นห่วงเป็นใย  คอยปกป้อง อีกด้านก็คือรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ  โดดเดี่ยว  มีความลึกลับ  ออกคำสั่งอย่างเดียวไม่ค่อยฟังความเห็น 
ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
            1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
            2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน
คุณสมบัติของผู้นำ
            ตามทฤษฎีทางด้านภาวะผู้นำนั้น ได้มีความพยายามกันตั้งแต่ร้อยปีที่แล้วที่จะศึกษาถึงคุณลักษณะ (Traits) ที่สำคัญของผู้นำ โดยมีสมมติฐานว่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จแต่ละคน จะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะที่คล้าย ๆ กัน และได้มีความพยายามที่จะศึกษาว่าอะไรคือคุณลักษณะที่ทำให้ผู้นำยิ่งใหญ่ ถ้าเป็นไปตามสมมติฐานดังกล่าว ก็หมายความว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not made)

คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
            1. ความมุ่งมั่น (drive)
            2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
            3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
            4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
            5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
            6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
            การเป็นผู้นำ นักทฤษฎีบางท่านได้ให้ความเห็นว่า เป็นบุคลิกลักษณะเด่นซึ่งบางคนมีมาตั้งแต่กำเนิด จึงศึกษาเล่าเรียนหรือสอนกันไม่ได้ เช่น มหาบุรุษของโลก นโปเลียน  อับราฮัม  ลินคอร์น  เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ มีบุคลิกลักษณะเด่นเป็นพิเศษกว่าบุคคลธรรมดา นานนับร้อย ๆ ปี จึงจะพบสักคนหนึ่ง แต่การเป็นผู้นำในลักษณะการบริหารนั้น อาจจะศึกษาหรือฝึกฝนให้มีขึ้นมาได้  สรุป คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ดังนี้ คือ
            1. มีความเฉลียวฉลาด ผู้นำที่ดีจะต้องมีความสามารถทางด้านสติปัญญาและคุณภาพทางสมอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำ คนที่มีความเฉลียวฉลาดย่อมโน้มน้าวให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ง่าย
            2. มีการศึกษาอบรมดี การศึกษาก่อให้เกิดความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนประกอบสำคัญของการเป็นผู้นำ ความรู้ย่อมทำให้คนนับหน้าถือตา จะพูดอะไรคนอื่นเขาก็เชื่อฟังและให้การเคารพนับถือด้วย
            3. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง ต้องมีกำลังใจเข้มแข็งเมื่อตัดสินใจจะทำกิจการใด ๆ ไป ก็จะต้องมีความเชื่อมั่นว่างานนั้นจะต้องสำเร็จ โดยไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น
            4. เป็นคนมีเหตุผลดี คือ มีความสามารถทางด้านเปรียบเทียบ และการแปลความหมายอย่างมีเหตุผล มีความสามารถที่จะหาเหตุผลต่าง ๆ จากสาเหตุต่าง ๆ ได้ และสามารถแปลความหมายของสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ให้เป็นภาษาเขียนได้  ความสามารถทางด้านเหตุผลนี้ พัฒนาได้ยาก เพราะจะต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านภาษา ทักษะและความรู้ทางด้านวิชาการประกอบด้วย
            5. มีประสบการณ์ในการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างดี ในการปฏิบัติงานจะทำให้ผู้นำสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับงานได้ ฉะนั้น ในระยะเริ่มแรกย่อมต้องการผู้นำที่มีประสบการณ์ในทางปฏิบัติงานอย่างกว้างขวาง ผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติในด้านการตัดสิน วินิจฉัยสั่งการ และการวางแผนพร้อมไปด้วย เพื่อจะได้เลือกทางที่ถูกต้องที่สุดในการดำเนินงานต่อไป
            6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ ข้อนี้เกี่ยวข้องกับชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ชาติกำเนิด เพราะถ้ามีชื่อเสียงดี มีเกียรติคุณดี ย่อมเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป
            7. สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะได้เป็นอย่างดี
            8. มีสุขภาพอนามัยดี
            9. มีความสามารถเหนือระดับความสามารถของบุคคลธรรมดา
            10 มีความรู้เกี่ยวกับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กร หรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะ
            11. มีความสามารถเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า ที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานให้ได้ทันท่วงที
            12. มีความสามารถคาดการณ์ สามารถทำนายเหตุการณ์หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า และหาทางป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์หรือปัญหานั้นเกิดขึ้นได้
ภาวะผู้นำ (Leadership) หมายถึง กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำนั้นเอง
         ภาวะผู้นำ คือคุณสมบัติ เช่น สติปัญญา ความดีงาม ความรู้ ความสามารถของบุคคลที่ชักนำให้คนทั้งหลายมาประสานกัน และพากันไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีงาม คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                1. ตัวผู้นำ
                2. ผู้ตาม
                3. จุดหมาย
                4. หลักการและวิธีการ
                5. สิ่งที่จะทำ
                6. สถานการณ์
         ผู้นำจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติที่จะทำให้เป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องบังเกิดผลดี ภาวะผู้นำ สามารถจำแนกออกได้ 2 ลักษณะ คือ ในลักษณะของการใช้อำนาจบังคับ กำกับควบคุมเพื่อให้ผู้ตามเกิดพฤติกรรมตามที่ตนต้องการ เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ส่วนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การใช้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ตามสร้างความเป็นกันเองเพื่อกระตุ้น จูงใจ ให้ผู้ตามเต็มใจที่จะมีส่วนร่วม หรือมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อการบรรลุเป้าหมายเช่นเดียวกัน

            ภาวะผู้นำ ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล ๆ หนึ่ง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติได้เลย การที่คน ๆ หนึ่งจะเป็นผู้นำได้นั้นจะต้องเกิดจากการฝึกฝน การเลียนแบบ จากประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่สั่งสมมา ผู้นำควรตระหนักอยู่เสมอว่า ภาวะผู้นำ วุฒิความสามารถ ตลอดจนมุมมองของผู้นำนั้น ยังเป็นสิ่งที่สามารถล้าสมัยได้ ไม่มีผู้นำคนไหนที่จะสามารถนำได้ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ผู้นำมีที่มาไม่เหมือนกัน แยกประเภทได้ดังนี้
            1. ผู้นำโดยกำเนิด ผู้นำประเภทนี้ เกิดมาก็มีคุณลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ อาจสืบทอดโดยตำแหน่ง หรือโดยบุญบารมีที่ได้สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน จึงทำให้บุคคลนั้น เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้นำโดยกำเนิด เช่น พระพุทธเจ้า พระเจ้าอยู่หัว
            2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ ผู้นำประเภทนี้เกิดขึ้นได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถเป็นอัจฉริยะ โดยเฉพาะบุคคลในตอนเริ่มต้นของชีวิตในระยะแรก ๆ ก็เหมือนกับบุคคลทั่วไป แต่เนื่องจากเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญา ได้รับการศึกษาพัฒนาปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้นำ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายธานินทร์ เจียรวนนท์ และนายบิลเกตต์
            3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่เกิดจากการได้รับการแต่งตั้งตามสายงานการบริหาร ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ประสบความสำเร็จก็จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น อธิบดี ผู้อำนวยการ อธิการบดี หัวหน้าฝ่าย
           
4.  ผู้นำตามสถานการณ์ เป็นผู้นำที่เกิดขึ้นแบบมีทีมงานเป็นส่วนใหญ่ มีความใฝ่ใจสูง เน้นการบริหารงานให้ได้ทั้งคนและทั้งงาน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน รู้จักหน้าที่ของตน ผู้นำประเภทนี้แสดงออกให้เกินถึงความเป็นผู้นำที่ต้องออกคำสั่ง การบังคับบัญชา การตัดสินใจ ผู้นำแบบนี้มักเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นครู เป็นผู้สอนแทน ผู้นำในการฝึกอบรม การประชุม
ลักษณะและบทบาทของผู้นำ 
                ผู้นำ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการจัดการ ผู้จัดการหรือผู้บริหารมีหน้าที่วางแผนและจัดระเบียบให้งานดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย แต่ผู้นำ มีหน้าที่ทำให้ผู้อื่นตาม และการที่คนอื่นตามผู้นำ ก็ไม่มีใครรับรองว่า ผู้นำจะนำไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ก็อาจจะไม่ใช่ผู้จัดการ หรือบริหารที่ดีได้ หรือผู้บริหาร-ผู้จัดการที่ดี ก็อาจไม่ใช่ผู้นำที่ดีก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ องค์การหนึ่งองค์การใดที่ต้องการประสบความสำเร็จ ก็ย่อมต้องการผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่มีลักษณะเป็นผู้นำดังนี้ 
                1. ต้องมีความฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลที่ให้เขาเป็นผู้นำ เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ  บุคคลที่ฉลาดเท่านั้นที่จะสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้
                2. ต้องมีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social Maturity & Achievement Drive) คือจะต้องมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ต้องยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแพ้หรือชนะ ไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ ผู้นำจะต้องมีความอดทนต่อความคับข้องใจต่าง ๆ พยายามขจัดความรู้สึกต่อต้านสังคม หรือต่อต้านคนอื่นให้เหลือน้อยที่สุด เป็นคนมีเหตุผล เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง และนับถือตนเอง
                3. ต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner Motivation) ผู้นำจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้เด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆ เมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป เมื่อทำสิ่งใดสำเร็จก็จะกลายเป็นแรงจูงใจท้าทายให้ทำสิ่งอื่นให้สำเร็จต่อไป ผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูง เพราะความรับผิดชอบจะเป็นบันไดที่ทำให้เขามีโอกาสประสบความสำเร็จ 
                4. ต้องมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Attitudes) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้น เขายอมรับอยู่เสมอว่า งานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่เขาทำเอง ดังนั้น เขาจะต้องพัฒนาความเข้าใจและทักษะทางสังคมที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้นำจะต้องให้ความนับถือผู้อื่นและจำต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความสำเร็จในการเป็นผู้นำนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือกับผู้อื่น และการติดต่อกับบุคคลอื่นในฐานะที่เขาเป็นบุคคล ไม่ใช่ในฐานะที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเท่านั้น ผู้นำจะต้องยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น และมีความสนใจร่วมกับผู้อื่น 
                จึงเป็นได้ว่า ผู้นำ ซึ่งหมายความถึงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมาหรือได้รับการยกย่องขึ้นให้เป็นหัวหน้าผู้ตัดสินใจ เพราะมีความสามารถการปกครองบังคับบัญชา และจะพาผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ไปในทางดีหรือชั่วได้ โดยใช้ระบบกระบวนการติดต่อซึ่งกันและกันในอันที่จะให้บรรลุเป้าหมาย และความสามารถที่จะชักจูงผู้อื่นให้ความร่วมมือร่วมใจกับตน ดำเนินการไปสู่จุดมุ่งหมายของตนได้ ดังนั้น การเป็นผู้นำจึงเป็นศิลปะของการที่จะมีอิทธิพลเหนือคน และนำคนแต่ละคนไปโดยที่คนเหล่านั้นมีความเชื่ออย่างเต็มใจ มีความมั่นใจในตัวผู้นำ มีความเคารพนับถือและให้ความร่วมมือกับผู้นำด้วยความจริงใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปด้วยดี ภาวะผู้นำนั้น ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการบริหารงาน และเป็นจุดรวมพลังของทุกคนในองค์กร ฉะนั้น ผู้นำย่อมเป็นหลักที่มีความสำคัญยิ่งในการบริหารงาน ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อผลงานอันเป็นส่วนรวม คุณภาพ และคุณลักษณะของผู้นำย่อมจะมีผลสะท้อนต่อวิธีปฏิบัติงานและผลงานขององค์การเป็นอย่างมาก
บทบาทของผู้นำในยุคที่ผ่าน ๆ มานั้น สังคมและธุรกิจถือว่าไม่มีบทบาทที่สำคัญ โดยถือว่าผู้นำเกิดขึ้นโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่ในสภาวะปัจจุบันนี้ ถือว่าผู้นำนั้นสามารถเรียนรู้ ฝึกอบรม และเสริมสร้างขึ้นมาได้ ทั้งนี้เพราะว่าผู้นำได้เป็นที่ยอมรับว่า มีบทบาทสำคัญต่อการบริหาร ลักษณะของผู้นำก็แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ ซึ่งทำให้เกิดผู้นำในแบบต่าง ๆ แต่ลักษณะของผู้นำที่เป็นที่ยอมรับคือผู้นำในฐานะผู้นำทาง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำขององค์การ หรือผู้นำทางสังคม ก็หมายถึง คนที่สามารถชี้ให้คนอื่นดำเนินการไปในทางที่ถูกต้องได้ ในปัจจุบันเรามักจะมุ่งที่ตัวผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินงานไปพร้อม ๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพ งานขององค์การจะก้าวหน้าอย่างไรอยู่ที่ตัวผู้นำเป็นสำคัญ ผู้นำจะต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากกว่าคนอื่น แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ สามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องตามสถานการณ์ แต่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนองค์การมีขนาดใหญ่และมีความสลับซับซ้อนในการบริหารงาน ตามสถานการณ์ที่ผู้นำต้องมีความสามารถหลายอย่าง ลักษณะการบริหารไม่ได้อยู่ที่ผู้นำคนเดียว แต่อยู่ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ดังนั้น ผู้นำในทศวรรษหน้าจะต้องเป็นนักพัฒนา ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนสามารถทำงานได้เองทุกอย่าง ทั้งในงานที่ทำร่วมกัน และงานที่ทำเฉพาะตัว ผู้นำในทศวรรษหน้า จะต้องพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถที่จะทำงานได้เอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กรหรือหัวหน้างาน
ลักษณะของผู้นำในทศวรรษหน้า 
            1. เป็นผู้บริหารที่ไม่มากเกินไปในทางใดทางหนึ่ง คือ ไม่ใช่ผู้นำที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว หรือมุ่งที่คนอย่างเดียว จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างความมากเกินไปและน้อยเกินไปในเรื่องของความรับผิดชอบงาน และการควบคุมงาน การบริหารในยุคหน้าคือการก้าวสู่สถานการณ์ที่คาดคะเนไม่ได้ การบริหารไม่ได้อาศัยคนใดคนหนึ่งตัดสินใจ แต่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแก้ปัญหาเอง และแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน โดยต้องใช้คนที่มีลักษณะหลากหลาย เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน 
            2. ผู้บริหารเน้นการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเป็นเลิศในทุกด้าน ไม่ใช่ผู้บริหารที่รับผิดชอบในความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ แต่ต้องรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความสามารถรอบด้าน ก็เพื่อให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันในการใช้ความรู้ความสามารถ ที่มีต่อความความสำเร็จขององค์การเมื่อเกิดปัญหาในงานไม่ใช่รายงานไปยังผู้บริหารให้ตัดสินใจ แต่ทุกคนมีภาระร่วมกันในการใช้ความเป็นเลิศแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 
            3.  วิธีการแก้ปัญหาของผู้นำจะใช้ผู้ปฏิบัติงานแก้เอง  การบริหารในยุคที่ผู้นำแก้ปัญหาได้ทุกอย่างจะหมดไป กล่าวคือ  เมื่อได้รับรายงานจากผู้ปฏิบัติงานจะส่งปัญหากลับคืนไปยังผู้ปฏิบัติงานให้คิดเป็นทำเป็น ซึ่งเท่ากับเป็นการพัฒนาคนให้สามารถแก้ปัญหาได้ 
            4.  ผู้นำจะมอบอำนาจ  จนพอที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อำนาจนั้นให้งานสำเร็จในตัว แต่ขณะเดียวกันก็กำหนดวิธีการควบคุมที่ได้ผล  การให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกับผู้บริหารจำเป็นต้องให้อำนาจอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจ  แต่ผู้นำก็มีระบบควบคุมที่ทำให้ตรวจสอบได้ว่างานก้าวหน้าไปอย่างไร  โดยผู้ปฏิบัติงานมีอิสระในการตัดสินใจ  กล่าวคือผู้นำจะมีทั้งความยืดหยุ่นและเข้มงวดในการควบคุมงานไปพร้อม ๆ กัน 
            5.  ผู้นำเน้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดี  ขณะเดียวกันความสามารถเฉพาะตัวก็สูงด้วย  การทำงานเป็นทีม  ทุกคนทำงานโดยมุ่งหมายความสำเร็จส่วนรวมขององค์การ โดยอาศัยความสามารถที่แตกต่างและหลากหลายของแต่ละคน  การสร้างทีมงานจะส่งเสริมพัฒนาคนให้มุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน บนรากฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยที่แต่ละคนต่างรู้ภารกิจของตน 
ในสภาพการแข่งขันที่ดุเดือดของโลกธุรกิจ
องค์กรต้องพร้อมที่จะปรับตัวตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดในบทบาทผู้นำจึงควรทำในสิ่งต่อไปนี้
            1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching) การทำงานก็เหมือนกับทีมฟุตบอล แม้ว่าในแต่ละตำแหน่งจะมีคนเล่นที่มีความสามารถฉกาจฉกรรจ์แค่ไหนก็ไม่พอ ต้องมีคนมองภาพรวมในการเล่นของทีมด้วย ว่าช่วงไหนควรรุก ช่วงไหนควรถอย จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์อย่างไร
            2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน การทำงานเป็นนั้น แต่ละคนต้องลดละอัตตาลงด้วย ต้องพร้อมที่จะปรับตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ การวางกลยุทธ์เพื่อให้คนทำงานร่วมกัน ผู้บริหารต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ระยะเวลาและความต่อเนื่องเพื่อไปสู่ทิศทางเดียวกัน 
            3.  ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก 
            4.  ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน เด็ก 97% มีความเป็นอัจฉริยะในตัวเอง แต่ความเป็นอัจฉริยะของเด็กกลับลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะกฎระเบียบทำให้ไม่สามารถแสดงออกมา แต่เชื่อว่ามันยังคงซ่อนอยู่ 
            5.  Fullfill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง เพราะคนต้องการการยอมรับ ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มตำแหน่งตามสายบริหาร หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อยอมรับในความสามารถที่พนักงานมี และได้พัฒนาตัวเองขึ้นมา
            6.  ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน มีการแข่งขันในระบบ มี Innovative ใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้องค์การเติบโตขึ้น พัฒนาขึ้น ความรู้จากภายนอกช่วยได้เพียง 30% อีก 70% ต้องเรียนรู้จากข้างใน จึงต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์การ
            สิ่งที่สะท้อนภาพองค์กรที่กำลังจะตายได้อย่างหนึ่ง คือองค์กรที่ยึดรูปแบบเต็มไปด้วยกฎระเบียบมากกว่าสาระ ในสถานการณ์ปัจจุบันการวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นปัจจัยหลักของการทำธุรกิจ ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารได้ชัดเจนที่สุด การวางแผนงานให้บรรลุเป้าหมายควรต้องมีการทบทวนอย่างน้อยทุก 3 เดือน ไม่มากเกินไปจนคนในองค์การสับสน 
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีต้องสร้างสรรค์จากภายในองค์กรเอง ด้วยข้อมูล ทรัพยากรที่มีอยู่ ผู้บริหารควรศึกษาการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การอื่นเพื่อเป็นแนวทาง แต่ไม่มีแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การใดที่เป็นเลิศจนเป็นแบบฉบับให้องค์การอื่นได้ ดังนั้น “คน” จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการ
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำจะต้องทำให้เกิดขึ้นคือความสุขของคนในองค์การ
การดึงศักยภาพของคนออกมาให้ได้โดยสร้างวัฒนธรรมองค์การที่จะกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ดังนี้ 
            1. วัฒนธรรมการเรียนรู้ ทำให้คนในองค์กรเป็นผู้รักการเรียนรู้ และที่สำคัญมากกว่า คือมีความเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ เพราะความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์ที่มีค่าอยู่กับตัว หลายองค์กรไปไม่รอด เพราะความรู้นั้นติดอยู่กับคน และไปพร้อมกับคน 
            2. การทำงานด้วยการครองสติ หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ 
            3. การเพ่งโทษ จับผิดที่ทำลายบรรยากาศของความเป็นทีม 
            4. มีความทะเยอทะยานไปสู่จุดมุ่งหมายที่ท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ 
            5. ให้โอกาส และรู้จักมองส่วนดีของผู้อื่น 
            สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่ จะเป็นได้ว่าน้ำหนักเกือบทั้งหมดอยู่ที่การบริหารคน การสร้างภาวะผู้นำในองค์การจึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และถ้าพิจารณาให้ดี หลักธรรมของพระพุทธองค์นั้น คือหลักการสำคัญที่จะทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข พร้อมที่จะรุกไปด้วยกัน
ผู้นำยุคใหม่
            ในการดำเนินชีวิต หรือประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งราชการ เอกชน ธุรกิจ บุคคลย่อมต้องการความสำเร็จ ความก้าวหน้า การได้เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง เพิ่มเงินเดือน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงถึงความมีทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ และมีคุณค่ามากขึ้นด้วย ความต้องการดังกล่าวจะเป็นได้เพียงใด ช้าหรือเร็ว ย่อมต้องอาศัยคุณสมบัติพิเศษ หรือบุคลิกภาพที่โดดเด่นสอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ คือบุคลิกภาพผู้นำ จากการศึกษาวิจัยวิศวกรกลุ่มหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า วิศวกรที่มีสมองดี ความรู้ดี และมีบุคลิกภาพผู้นำ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีกว่า 6 เท่า ของวิศวกรที่มีสมองดี ความรู้ดี แต่ขาดบุคลิกภาพผู้นำ บุคลิกภาพที่ดี จึงมีผลต่อความสำเร็จก้าวหน้าของบุคคล ทั้งในชีวิตส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรและหน่วยงาน
            ปัจจุบันทุกองค์กรและหน่วยงาน ให้ความใส่ใจและความสำคัญกับเรื่อง “คุณภาพ” “มาตรฐาน"”มีการเร่งรัดจัดทำมาตรฐาน จัดระบบการตรวจสอบภายใน-ภายนอก เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพกันอย่างจริงจัง
            โดยคาดหวังว่าการประกันคุณภาพจะนำไปสู่คุณภาพของผลผลิต แต่ต้องยอมรับว่าในกระบวนการประกันคุณภาพ บุคลากรเป็นหัวใจสำคัญ ถ้าบุคลากรมีคุณภาพ ระบบการประกันคุณภาพก็จะสำเร็จ และโดยเฉพาะผู้ที่เป็น “ผู้นำ” จำเป็นต้องมีบุคลิกภาพที่ดี สมกับเป็นผู้นำในยุคใหม่ เพื่อทัดเทียมกับสากลได้ ผู้นำ” จึงควรมีคุณสมบัติให้สอดคล้องกับคำว่า “Leadership” ดังนี้
            1. L-Learner ผู้รู้ นักปราชญ์ ผู้นำควรเป็นผู้รอบรู้ ทันโลก ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ จากการอ่าน มีความรู้ดี รู้กว้าง รู้ลึก รู้ในเรื่องงาน และรู้เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำจึงความเป็นผู้ฟัง และแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่น และใช้สื่อมวลชนทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ในการค้นหา และเข้าถึงความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง
            2. E-Endurance and Example ความมานะอดทน อดกลั้น และเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้นำต้องมีความมานะ อดทนต่อความยากลำบากในการงาน การปรับตัวเข้ากับคน ลูกน้อง เข้ากับเพื่อนร่วมงาน และลูกค้าที่มารับบริการ เพื่อจะประคับประคองและนำกิจการของตนให้ดำเนินไปด้วยดี ความอดทนจึงเปรียบได้กับคำกล่าวที่ว่า “ฝนทั่งเป็นเข็ม”ผู้นำจึงต้องสามารถทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในทุกด้านแก่ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน การทำตนเป็นตัวอย่าง ย่อมสร้างศรัทธาและความเต็มใจในการให้ความร่วมมือ ดังนั้น ผู้นำจึงไม่เพียงแต่สอนงาน อธิบายงาน สาธิตให้ดู แต่จะต้องมีชีวิตเป็นอยู่ให้เห็นอีกต่างหาก ดังคำที่ว่า Action speaks louder than words. “การกระทำสำคัญยิ่งกว่าการพร่ำสอน”
            3. A-Attempt ความพยายาม ผู้นำต้องมีความพยายามอย่างยิ่งในการดำเนินงาน บ่อยครั้งอาจประสบอุปสรรค ปัญหา แต่ผู้มีความพยายามก็จะไม่ย่อท้อ และมองปัญหา อุปสรรค เป็นโอกาส ดังคำที่ว่า “มารไม่มี บารมีไม่เกิด” ยังคงเพียรพยายามต่อไป จนบรรลุความสำเร็จ ดังคำที่ว่า “Where there’s a will, there’s a way” “มีความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความเพียร”
            4. D-Drivers and Determination แรงจูงใจและความมุ่งมั่น ผู้นำจะต้องเป็นผู้มีแรงจูงใจไม่หยุดนิ่ง และมีไฟแห่งความทะเยอทะยานต้องการที่จะก้าวหน้า ทำวันนี้ให้ดีกว่าวันวาน มีความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร นำพาตนเองและองค์กรสู่ความสำเร็จให้จงได้ บุคคลที่มีแรงจูงใจ จะมีพฤติกรรมที่มีพลัง มีทิศทางและมุ่งสู่เป้าหมายชัดเจน และขยันทำงานจนมีความสำเร็จให้จงได้
ผู้นำมีแรงจูงใจเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ จะต้องมีความขยันขันแข็ง กล้าคิด คิดใหม่ คิดรอบคอบ และนำความคิดทดลองสู่การปฏิบัติให้จงได้ ผู้นำจึงเชื่อว่าพรสวรรค์ก็มีความสำคัญ แต่พรแสวงย่อมเป็นคุณสมบัติของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนกว่า
            5. E-Enthusiasm and Expert ความกระตือรือร้นและความชำนาญ ผู้นำต้องมีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นตา ตลอดเวลา มีความคล่องแคล่ว ว่องไว กระฉับกระเฉง และมีชีวิตชีวา และทำงานอย่างต่อเนื่อง ผู้นำที่ดีจะมีจิตสำนึกเร่งด่วนที่จะเรียนรู้แก้ปัญหา และจัดการทุกอย่างให้รวดเร็วฉับไว เห็นเวลามีค่า ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ว่า Time and Tide wait for no man เวลาและวารีไม่ใยดีต่อผู้ใด
ความชำนาญหรือทักษะก็เป็นคุณสมบัติของผู้นำ ผู้มีประสบการณ์เรียนรู้อย่างชาญฉลาด ก็จะสั่งสมความรู้ประสบการณ์ และนำประสบการณ์มาใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันกาล เพราะสิบมือคลำ ไม่เท่าชำนาญ และผู้นำจึงไม่เพียงแต่เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความชำนาญยังเกิดการเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และล้มเหลวของบุคคลอื่นและใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกหัดในสิ่งที่ถูกต้องแม่นยำ ในการสะสมประสบการณ์และสร้างความชำนาญให้เกิดขึ้น
            6. R-Responsibility and Risk ความรับผิดชอบและความกล้าเสี่ยง ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่องานอย่างเต็มที่ บางครั้งความรับผิดชอบอาจต้องรวมถึงเวลาที่นอกเหนือไปจากเวลาทำงานปกติ แต่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงใน 1 วัน และในทุกเรื่องรวมทั้งความรับผิดชอบที่ได้มอบหมายให้ลูกน้องด้วย ดั้งนั้นความรอบคอบถี่ถ้วนและมองการณ์ไกล จึงจำเป็นต้องมีด้วย และผู้นำย่อมเต็มใจที่จะรับผิดและรับชอบด้วย
ความกล้าเสี่ยงก็เป็นคุณสมบัติของผู้นำที่สำคัญทีเดียว ผู้นำจะไม่เป็นคนกล้า ๆ กลัว ๆ เบื่อ ๆ อยาก ๆ แต่จะพิจารณาตัดสินใจ กล้าได้ กล้าเสี่ยง ด้วยความรอบคอบ จากการประเมินข้อมูลที่มีจึงจะแก้ปัญหาได้ทันกาลและขณะเดียวกันก็พร้อมจะยอมรับความสำเร็จ และความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นด้วยความเต็มใจ และแก้ไขใหม่ให้ดีขึ้น
            7. S-Self-confident, Sincerity and Sex ความมั่นใจในตนเอง ความจริงใจและความสุข ผู้นำต้องมีความมั่นใจในตนเอง เพราะความมั่นใจทำให้บุคคลประสบความสำเร็จ ผู้นำต้องเชื่อว่า “ท่านทำได้” ถ้าท่านเชื่อว่าท่านทำได้ “You are what you think” ผู้นำจึงไม่เป็นคนลังเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาโดยปราศจากจุดยืน นับตั้งแต่เชื่อมั่นในตนเอง ศรัทธาต่อตนเอง ต่องาน ต่อหน้าที่ องค์กร และลูกค้าที่มารับบริการ
ความจริงใจในการปฏิบัติงานต่อลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน สมาชิกหรือลูกน้อง ต้องตรงไปตรงมา โปร่งใส ความจริงใจจะเรียกศรัทธาจากผู้มารับบริการและเพื่อนร่วมงาน และได้รับความร่วมมือเต็มที่
ความสุขจากครอบครัว ก็เป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้ผู้นำปฏิบัติหน้าที่เต็มศักยภาพ โดยไม่สูญเสียพลังงานกับปัญหาหรือเรื่องต่าง ๆจากครอบครัวหรือส่วนตน ผู้นำที่มีครอบครัว ลูก ภรรยา คนรัก บิดา มารดา และบุคคลที่แวดล้อมที่เข้าใจและสนับสนุน รู้สึกอบอุ่น มั่นคง มั่นใจ เป็นกำลังใจเป็นแรงหนุนอีกทางหนึ่งสู่ความสำเร็จ
            8. H-Honesty, Human-Relations and Health ความซื่อสัตย์ มนุษยสัมพันธ์และสุขภาพอนามัยที่ดี ผู้นำต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง หน้าที่และผู้มารับบริการ ดังคำว่าที่ “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” ความซื่อสัตย์ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งลูกน้อง ลูกค้า เพื่อนฝูง จะไว้วางใจให้ความร่วมมือและเต็มใจมาใช้บริการ กิจการก็เจริญก้าวหน้า
มนุษยสัมพันธ์เป็นคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งของผู้นำ ผู้นำย่อมต้องโอภาปราศรัย ยิ้มแย้ม ทักทาย ต้องรู้จักคน เข้าใจคน ครองใจคน ยอมรับคน ดังคำที่ว่า “คนเห็นคนไม่ใช่คน ใช่คนไม่” คนอยู่ร่วมกับคนได้อย่างดีต้องรู้จักให้รู้จักรับ รู้จักให้อภัย ไม่รอรับแต่ฝ่ายเดียว ความสัมพันธ์กับบุคคลแน่นอนถ้าราบรื่น งานก้าวหน้าแน่นอน เพราะผู้นำทำงานกับคน ถ้าสามารถชักจูง โน้มน้าว สร้างความรัก ประทับใจบุคคลที่แวดล้อมได้ก็จะได้รับความรัก ความศรัทธาและเต็มใจร่วมมือช่วยกันฝ่าฟัน แม้ปัญหาที่ยากก็สามารถสำเร็จได้ง่าย และได้รับความเจริญก้าวหน้า ดังคำที่ว่า “แต่เก้าอี้ที่หวังจะนั่งนาน คือ การนั่งอยู่ในหัวใจคน”
สุขภาพอนามัย ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ผู้นำต้องใส่ใจ ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะผู้นำย่อมต้องทำงานหนักกว่าผู้ตาม ต้องใช้สมอง ไตร่ตรอง ขบคิด แก้ปัญหา ถ้าร่างกายไม่อยู่ในสภาพที่แข็งแรงพอ ก็ไม่อาจสู้งานที่ยากได้
สภาพจิตใจก็เป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวพัน ส่งผลต่อกัน ดังที่ว่า “A sound mind is a sound body” จิตใจที่ดีอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง ฉะนั้น จงหัดบริหารร่างกายและบริหารจิตใจอยู่เสมอ ด้วยการปฏิบัติตาม “5อ” คือ อาหาร อากาศ อุจจาระ อารมณ์ ออกกำลังกาย และฝึกจิตให้คิดแต่ Positive thinking มองแต่ดี ดังที่ว่า “จงมองความงามในสวนจากมวลดอกไม้ที่บานสะพรั่ง มิใช่จากใบไม้ที่ร่วงหล่น” ถ้าจิตและกายสมบูรณ์ก็สามารถสู้งานหนักได้ดี
            9. I-Intelligence, Ideologist and Initiative ความเฉลียวฉลาด อุดมคติ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้นำต้องมีสติปัญญาเฉียบแหลม สามารถคาดคะเนมองการณ์ไกล ประเมินสถานการณ์ได้ใกล้เคียงกับความจริง และมีอุดมคติที่จะพัฒนาหาสิ่งที่สมบูรณ์กว่า และความคิดริเริ่มในการคิดเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปสู่สิ่งที่มีคุณค่าเพื่อความพอใจของผู้ใช้บริการและความก้าวหน้าขององค์การ ผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ย่อมก้าวหน้าเดินไปข้างหน้าผู้อื่น 1 ก้าวเสมอ
ผู้นำที่เฉลียวฉลาดย่อมต้องตัดสินใจได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด เหมาะสมกับเวลา สถานการณ์และทันท่วงที และยึดประโยชน์ของทุกฝ่ายเป็นหลัก โดยมองการณ์ไกลและปฏิบัติตนและยึดหลักเป็นผู้ชนะ – ชนะ (Win-Win) ทั้งสองฝ่าย ดังที่ว่า We can’t spell S_CCESS Without U เราสะกดคำว่าสำเร็จไม่ได้ หากขาดคุณ
            10. P-Personality บุคลิกภาพ ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งบุคลิกภาพทางกาย อารมณ์ จิตใจ สมอง และการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม ผู้นำจำเป็นต้องมีรสนิยมดีในการแต่งกายให้เหมาะสมกับ เพศ วัย กาลเทศะ ให้เรียบร้อย สุภาพ สะอาดหมดจด สง่างาม ตามสมัย
ผู้นำควรมีการสื่อสารที่ดีด้วย ภาษา ถ้อยคำ สำเนียงที่ถูกต้อง การสื่อสารให้ตรงกัน พึงหลีกเลี่ยงการพูดจาก้าวร้าว ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่น เพราะคำพูดทำให้ได้รับความรัก ความศรัทธา นับถือและความร่วมมือ หรือชิงชัง โกรธ ไม่ร่วมมือ และอาจสร้างมิตรหรือศัตรูได้ ผู้นำควรมีท่าทางการยืน เดิน นั่ง และการแสดงออกที่สำรวม งดงาม สง่า มีการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว ว่องไวในการทำงาน มีความเข้มแข็ง รวดเร็ว ทำงานเป็น มีทักษะในการจัดการ และทำงานให้สำเร็จด้วยทีม ดังที่ว่า “Management is getting work done through others” สรุป ผู้นำยุคใหม่ ก้าวไกลสู่สากล จึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความคิดดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ สามารถคิดคาดการณ์ล่วงหน้า มีความมุ่งมั่น มีจิตใจดีงาน (business mind, social heart) พร้อมที่จะรับฟัง ยอมรับ และใส่ใจผู้อื่น มีความฉลาดทางความคิดปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ และจูงใจ ทั้งตนเองและผู้อื่นให้มีจิตใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อร่วมกันทำงานได้ด้วยความเต็มใจเพื่อนำองค์กรไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืนผู้นำจึงควรเป็นผู้ที่หัวใหญ่ (Head) ใจโต (Heart) มือกว้าง (Hand) และร่างสมาร์ท (Health)
ผู้บริหาร / ผู้นำ กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Leadership with Technology Management)   
            ผู้นำยุคใหม่ต้องตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดได้ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันนั้น องค์กรมีความจำเป็นต้องทำอยู่  2 ประการ คือ
            การปรับตัว  (Adapt) และการเปลี่ยนแปลง (Change) โดยอาจปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริหารที่องค์กรนำเสนอให้กับลูกค้าซึ่งแนวคิดดังกล่าวอาจเรียกอีกชื่อว่า นวัตกรรมใหม่ในสินค้า (Product Innovation) และนวัตกรรมใหม่ในกระบวนการจัดการหรือการผลิต (Process Innovation) มีหลายวิธีในการปรับปรุงความสามารถ  เช่น  บริการด้วยความรวดเร็วขึ้น  คุณภาพที่ดีขึ้น  ราคาสินค้าถูกลงหรือมีความหลายหลายให้ลูกค้าได้มีโอกาสเลือกมากขึ้น เป็นต้น ในการพัฒนาเพื่อให้องค์กรมีความสามารถเหล่านี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร  การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นที่เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตสินค้าหรือบริการ  หรือการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นส่วนใหญ่แล้ว การเปลี่ยนแปลงมักเกิดจากการพัฒนาทีละเล็กทีละน้อย ไปตามลำดับ  และค่อย ๆ สะสม  เช่น  ความเจริญอย่างรวดเร็วและความสำเร็จอย่างมากมายของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นผลสะสมมาจากการ
ทำโครงการปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนากระบวนการออกแบบตลอดระยะเวลา  40 ปีที่ผ่านมานวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยี  เป็นความต้องการที่สำคัญจำเป็นในทุกธุรกิจที่ต้องการท่าจะประสบความสำเร็จ มีบางบริษัทเป็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เกือบไม่ทันการณ์  เช่น บริษัท IBM เป็นบริษัทที่มีความยิ่งใหญ่และอาจเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่ได้วางฐานในการอุตสาหกรรมไอที เป็นผู้ผลิตทั้งฮาร์ดและซอฟต์แวร์ที่โดดเด่น และความเข้มแข็งและโดดเด่นดังกล่าวทำให้เป็นอุปสรรค์ในการมองเห็นความจำเป็นในการมองเห็นความจำเป็นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2533 มีการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีครั้งใหญ่มีนวัตกรรมใหม่ได้แก่ เทคโนโลยีระบบเครือข่าย ( Network Technologies) เกิดขึ้น  โดยที่  IBM ได้เสียตำแหน่งผู้นำในด้านเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับบริษัทใหม่ที่ดำเนินธุรกิจด้านระบบเครือข่ายไป  ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับบริษัทขนาดใหญ่  เช่น GM (General Motors)  และ Kodak แต่ลองนึกดูว่า ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับองค์กรที่เล็กกว่า  และมีทรัพยากรที่น้อยกว่า อาจทำให้ธุรกิจขององค์กรขนาดเล็กเหล่านี้คงต้องล้มและหายไปจากธุรกิจในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันนี้แน่นอน  ดังนั้นผู้บริหารต้องพยายามจับกระแสของความเปลี่ยนแปลงว่า องค์กรของตนต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอย่างไรบ้าง  เพื่อให้อยู่รอดหรือเป็นผู้นำในธุรกิจต่อไปได้เมื่อองค์กรเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่องค์กรจำเป็นต้องปรับปรุงแล้ว  ความสำเร็จในการนำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับองค์กรนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยง่าย  หรือโดยอัตโนมัติ  แต่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์เทคโนโลยี (Technology Strategy) ที่เกิดจากการวางแผนงานและความมุ่งมั่นขององค์กรเอง  ที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เช่น บางองค์กรอาจคิดว่าถ้าได้นำเทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดมาใช้กับองค์กรแล้วจะต้องประสบความสำเร็จเองโดยอัตโนมัติ แต่ผลออกมาว่าไม่ประสบความสำเร็จทั้งรายได้ลดลงและรายจ่ายอาจสูงขึ้นอย่างมากด้วย  เพราะการลงทุนใด ๆ ทางเทคโนโลยีนั้นย่อมเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก  กลยุทธ์ในการนำการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนั้นมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติอยู่  2  ลักษณะคือ  ผลลัพธ์ของนวัตกรรมที่ได้มีความไม่แน่นอน และต้องสะสมความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technological Competence)   ที่ได้จากประสบการณ์ด้วย     บางองค์กรที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีหรือประสบการณ์ด้านนั้นมาก่อนอาจลงทุนซื้อกิจการที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านนั้น เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะด้านได้รวดเร็วขึ้น  ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ชัดจากการควบรวมกิจการต่าง ๆ กันเสมอ  เช่น  Sony – Ericsson ที่ผลิตโทรศัพท์มือถือ  Fujitsu-Siemens ที่ผลิตเครื่อง PDA  (Personal Digital Assistant) และ  Hp – Compaq รวมกิจการกันโดยที่  Hp  จะเน้นผลิตเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์เสริมการพิมพ์ซึ่งเป็นจุดแข็งของ  Hp  ในขณะที่  Compaq จะเน้นผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และ  PDA  อย่าง  iPaq  เป็นต้น เพื่อเสริมจุดแข็งของแต่ละองค์กรเข้าด้วยกัน  ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสรุปได้ว่า  ความสามารถด้านเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน  แต่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้จากประสบการณ์  ถึงแม้จะมีการควบรวมกิจการของธุรกิจ 2 ธุรกิจก็ต้องใช้เวลาในการนำเอาความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ถือเป็นสิ่งที่เป็นจุดแข็งใหม่ของธุรกิจออกมาให้โดดเด่นได้  ซึ่งองค์กรใดที่จะกลยุทธ์เทคโนโลยีมาใช้ต้องเข้าใจว่า  กลยุทธ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นการวางแผนระยะยาวการบริหารเทคโนโลยีมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  การบริหารการถ่ายโอนเทคโนโลยี  (Technology Transfer Management)เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีใหม่ใด ๆ จำเป็นต้องมีการแทนที่เทคโนโลยีเดิม ซึ่งทำอย่างไรให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ประสบผลสำเร็จมากที่สุด จำเป็นต้องมีขึ้นตอนสรุปได้ดังนี้
            1.  กลยุทธ์เทคโนโลยี (Techno - logy Strategy) ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้
                        1.1  การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis) ทบทวนว่าสถานการณ์ขององค์กรอยู่ในตำแหน่งใดในตลาด ซึ่งอาจใช้การวิเคราะห์แบบ SWOT เข้ามาช่วยได้ แต่ก็มีเทคนิคอื่น ๆ เช่น Five Forces Model, Com-passiveness Profiling, Value Stream Audit เป็นต้น แต่ทุกเทคนิคมีจุดประสงค์เดียวกันคือ ให้เข้าใจปัญหาและสถานการณ์ขององค์กรเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากกว่า   กระแสของความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านใดที่องค์กรควรจะทำเพื่อให้องค์กรอยู่รอดหรือเป็นผู้นำในตลาดได้
                        1.2  เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด (Strategic Choice) จากหลาย ๆ กลยุทธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในความสามารถพื้นฐานขององค์กรปัจจุบัน และความเหมาะสมในความสามารถในการประยุกต์ใช้ซึ่งองค์กรที่ความสามารถพอที่จะจัดการให้เกิดการประยุกต์ด้านเทคโนโลยีขึ้นมาได้
                        1.3  การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เพื่อประยุกต์ให้กลยุทธ์ที่เลือกไว้นำไปปฏิบัติอย่างได้ผลมากที่สุด
            2.  การได้ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technology Acquisition) ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการได้เทคโนโลยีที่ต้องการนำมาเปลี่ยนแปลงในสินค้าหรือกระบวนการผลิตสินค้าหรือความเป็นเจ้าของเทคโนโลยี   การได้มาซึ่งความรู้ ด้านเทคโนโลยีนี้อาจมาจากการทำวิจัยภายในองค์กร (Internal R&D) การจ้างให้หน่วยงานภายนอกทำการศึกษาวิจัยในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา (External R&D) หรือใช้เทคโนโลยีโดยจ่ายเป็นค่าลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของเทคโนโลยี (Licensing Technology)  การที่ได้เทคโนโลยีแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าที่องค์กรต้องการ  ถ้าต้องการให้องค์กรแข่งขันได้กับองค์กรเองซึ่งเมื่อตลาดมีการเปลี่ยนแปลง  เทคโนโลยีที่มีองค์กรมีความรู้ความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของตลาดได้ แต่วิธีนี้อาจมีข้อเสียในเรื่องของระยะเวลาที่ทำการศึกษาวิจัยอาจนานเกินไปกว่าจะได้เทคโนโลยีเพื่อนำสินค้าเข้าสู่ตลาด  องค์กรคู่แข่งขันอาจช่วงชิงตำแหน่งผู้นำไปได้ก่อนแล้ว  หรืออาจมีอัตราการเสี่ยงสูงที่ผลงานที่ทำการวิจัยเทคโนโลยีที่ล้มเหลว  ไม่มีความก้าวหน้าได้ ขณะที่การจ้างให้หน่วยงานภายนอกทำการศึกษาวิจัยให้  หรือซื้อเทคโนโลยีมาอาจจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการทำวิจัยเองก็ตามและอาจลงอัตราเสี่ยงของการล้มเหลวของผลงานวิจัย  แต่ค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเมื่อตลาดเปลี่ยนแปลงก็ต้องสูงมาก  เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีเป็นขององค์กร   ก็จะทำวิจัยในธุรกิจหลักขององค์กรเอง  ส่วนงานที่มีลำดับความสำคัญน้อยลงไป  ส่วนงานที่มีลำดับความสำคัญน้อยลงไป  ก็อาจซื้อเทคโนโลยีมาปรับปรุงหรือจ้างให้หน่วยงานภายนอกทำการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีที่ไม่ใช่องค์ประกอบหลักของธุรกิจขององค์กรแทน
            3.  การประยุกต์ให้เทคโนโลยีได้ผลตามที่ได้วางแผนไว้ (Technology Implementation)
            4.  การเรียนรู้เพื่อปรับปรุงการบริหารเทคโนโลยี (Learning to Improve Technology Management) เทคนิคการบริหารเทคโนโลยีให้ได้ผลนั้นถือเป็นทักษะที่ต้องเกิดจากการเรียนรู้ 2 ประเภท คือ
                        4.1  การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  (Technological Learning) เพื่อสะสมความรู้ด้านเทคโนโลยีให้เกิดเป็นความสามารถด้านเทคโนโลยี
                        4.2  การเรียนรู้ด้านระบบหรือองค์กร (Organization Learning) เพื่อเรียนรู้ขั้นตอน ๆ ในการบริหารงานในกระบวนการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเกิดขึ้นการเรียนรู้ในขั้นนี้เป็นการนำความรู้และประสบการณ์จากขั้นตอนที่ 1 -3 มาพัฒนาปรับปรุงบริหารเทคโนโลยีที่ได้ทำไปแล้วให้ดีขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไปโดยดูได้จากแผนภาพจำลองการเรียนรู้ (Kolb & Fry, 1957) ดังนี้
http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-4-1-1.gif
            วัฎจักรของาการเรียนรู้อาจเริ่มจากการวางแนวความคิด Concept) ทดลองปฏิบัติ (Experiment) ทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ (Experiment) นำผลลัพธ์ที่ตอบสนองหรือผลสะท้อน (Reflection) จากประสบการณ์กลับมาปรับปรุงแนวความคิดใหม่ที่เกิดขึ้น  โดยวัฎจักรของการเรียนรู้สามารถเริ่มต้นได้ในทุกจุด  แต่สิ่งที่สำคัญคือ  การเรียนรู้ (Learning) จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้ทำครบทุกขั้นตอนแล้ว ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่มักจะเน้นที่ทำการทดลอง (Experiment) และได้รับประสบการณ์ (Experience) แต่ยังขาดการนำเอาผลสะท้อนจากประสบการณ์เหล่านั้นมาปรับปรุงแบบจำลองแนวความคิดเพื่อที่จะจับกระแสและตอบสนอง  (Sense and Response) ว่า  สิ่งใดหรือแนวความคิดใดควรจะทำโครงการใดต่อไป
            การบริหารเทคโนโลยีมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมากซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ทั้งหมดในบทความนี้  แต่โดยสรุปแล้วการบริหารเทคโนโลยี   ถือเป็นการบริหารที่มีความจำเป็นมากขึ้นในการแข่งขันด้านธุรกิจที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ธุรกิจนั้นอยู่รอดหรือเป็นผู้นำในตลาดได้  ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้บริหารหรือผู้นำยุคใหม่ควรต้องมีเพราะโลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีตลอดเวลา
       
ความรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)  หรือ  IT  มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการจัดทำข้อมูลข่าวสาร  หรือสารสนเทศ  (Information)  ซึ่งหมายถึงสาระความรู้  ความจริงที่สามารถนำไปใช้เพื่อการสื่อสารเรียนรู้  หรือเก็บรวบรวมได้เป็นข้อมูล  (Data)  ซึ่งผ่านการประมวลแล้ว  มีการเก็บรักษา  การค้นหา  การเรียกใช้  การจัดหมวดหมู่  การประยุกต์ใช้และการเผยแพร่  ซี่งในปัจจุบันพัฒนาการของเทคโนโลยีช่วยให้บุคคลทุกระดับชั้นที่ประกอบอาชีพ  สามารถใช้เทคโนโลยีประเภทนี้ได้ด้วยความเข้าใจและมีประสิทธิภาพในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น  เป็นยุคข้อมูลข่าวสารหรือสังคมสารสนเทศ  (Information  Society)  มีการใช้ข่าวสารมากขึ้น  การผลิตที่เคยใช้แรงงานและทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐาน  จะเปลี่ยนเป็นสังคมที่เศรษฐกิจ  การผลิต  การบริโภค  ที่มีข้อมูลข่าวสารและเทคนิควิธีการ  (Know – How)  เป็นฐาน  การเพิ่มขั้นของข้อมูลและการใช้ข้อมูลข่าวสารในยุคสารสนเทศ  (Information  Age)  ทำให้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารเป็นความจำเป็น  และถือเป็นเครื่องมือที่จำเป็นที่จะทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ  การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์จัดทำข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมโยงกัน  ได้แก่  เทคโนโลยีสื่อสาร  (Telecommunication  Technology)  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (Computing  Technology)  และใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูล  (Data – based  Technology) 
ภาพแสดงการเชื่อมโยงของเทคโนโลยี
http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-4-1-2.gif

การบูรณาการเทคโนโลยี  (Integrated  Technologies)
            1.  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (Computing  Technology)  เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้งานโดยคำสั่งที่สร้างขึ้น  ซึ่งเรียกว่า  Program  หรือ  ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น  สร้างงานต่าง    จัดทำข้อมูลข่าวสาร  คำนวณ  รวมทั้งการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต
            2.  เทคโนโลยีฐานข้อมูล  (Data – based  Technology)  เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเก็บไว้ในรูปของ  Digital Code  พัฒนาควบคู่กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์น้อยถ้าไม่มีข้อมูล  หรือโปรแกรมที่สามารถเก็บและเรียกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากเพียงพอกับความต้องการของผู้บริหาร  ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาฐานข้อมูลของไทยอยู่  จึงจำเป็นต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก  คาดว่าในอนาคตอันใกล้ฐานข้อมูลของไทยจะเป็นที่แพร่หลายเอื้อประโยชน์กับนักบริหารเป็นอย่างมาก
            3. เทคโนโลยีการสื่อสาร  (Telecommunication Technology) หรือเทคโนโลยีโทรคมนาคม  เป็นการพัฒนาระบบการสื่อสารตามสายตั้งแต่เริ่มการใช้โทรเลขพัฒนาเป็นโทรศัพท์  จนปัจจุบันได้มีการพัฒนาการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลตามสารที่วางขนานไปกับพื้นโลก  ทั้งสายโลหะและใยแก้วนำแสง จนเป็นระบบทางด่วนข้อมูล (Information Super Highway) นอกจากนี้ยังพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลในรูปคลื่นวิทยุ  ทั้งบนพื้นโลก  และส่งผ่านดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลกทำให้สามารถเชื่อมโยงเกิดเป็นเครือข่าย  (Networks)  ขึ้น  และเทคโนโลยีการสื่อสารนี้เองที่เป็นตัวเชื่อมให้คอมพิวเตอร์กับฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่ทั่วโลก หรือคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ในแต่ละที่ที่ห่างไกลกันสามารถเชื่อมต่อกันได้เกิดสภาวะการณ์ไร้พรมแดนหรือโลกาภิวัฒน์  (Globalization)  กับสังคมโลก
ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร
            ในยุคเริ่มต้นของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญการใช้เทคโนโลยีประเภทนี้  จะใช้กับงานขนาดใหญ่มีผู้มีความรู้ในการใช้ทำงานเป็นทีม  แต่ในปัจจุบันผู้บริหารที่นั่งอยู่ในห้องคนเดียวสามารถใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคสารสนเทศได้ตามลำพัง  และเพียงเพื่อใช้กับงานพิมพ์กระดาษแผ่นเดียว  หรือเรียกข้อมูลประจำวันขึ้นมาตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อผ่าน  Modem  เข้าสู่ระบบเครือข่ายหรือติดต่อกับคอมพิวเตอร์กับที่อื่น  นอกจากนี้ในปัจจุบันการเชื่อมต่อยังสามารถทำได้โดยผ่านคลื่นวิทยุ  ผู้บริหารสามารถเรียกข้อมูลได้ในขณะที่นั่งอยู่ในรถยนต์  เครื่องบินหรือที่ห่างไกลได้  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารปัจจุบันและอนาคต  ความสามารถในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างเดียวจะไม่เพียงพอกับสังคมยุคใหม่ได้  การจำแนกทักษะของการใช้เทคโนโลยี  สามารถจำแนกได้ตามลักษณะของการทำงานดังนี้
            1.  ทักษะในการพิมพ์เอกสาร  (Document  Creation)  ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องสร้าง  หรือทำเอกสารขึ้นด้วยตนเองบ้างในบางครั้งที่ต้องการสื่อสาร  หรือบันทึกข้อมูลที่เป็นความลับหรือส่วนตัว  หรือถ่ายทอดข้อมูลให้เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์  ความสามารถในการใช้เครื่องมือสมัยใหม่  หรือ  Computer  เรียกว่า  เป็นผู้ที่มี  Computer  Literacy  เป็นความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เพิ่มขึ้นของผู้บริหาร  นอกจากการอ่านออกเขียนได้  (Literacy)  อย่างเดียว
            2.  ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ  (Information  Gathering)  ผู้บริหารในปัจจุบันและอนาคตต้องสามารถรวบรวมข้อมูลและบันทึกเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้     เพราะนอกจากจะทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากและรวดเร็วแล้ว  ยังสามารถนำมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ  ทักษะการใช้  Internet  ในการรวบรวมข้อมูล  และทักษะการใช้โปรแกรมต่าง    ที่ใช้สำหรับ  Internet  มีความสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหาร
            3.  ทักษะการใช้  e–mail  และการประชุมร่วม  (Electronic  Mail  and  Conferences)  การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์โดยตรงจากผู้ส่งไปสู่ที่หมาย  ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องใช้เป็น  ปัจจุบันโปรแกรมการใช้  e – mail  ได้พัฒนาขึ้นจนไม่ยากนักที่จะทำความเข้าใจและใช้ได้  นอกจากนี้การประชุมร่วมตามสาย  เช่น  ผ่านระบบ  ISDN  ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย  (ISDN  =  Integrated  Service  Digital  Networks)  และระบบที่ใช้กับ  Internet  ผู้บริหารจำเป็นต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้ได้
            4.  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ข้อมูลทั้งหลายนับวันจะมากขึ้นเป็นความสามารถของผู้บริหารที่จะวิเคราะห์คัดเลือกข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดใน ระบบและนำข้อมูลมาใช้อย่างฉลาด ความสามารถในการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจยังเป็นของผู้บริหารที่เป็นมนุษย์ เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีอาจจะโปรแกรมช่วยท่านตัดสินใจได้ในบางเรื่อง แต่สิ่งสุดท้ายที่จะต้องพิจารณา คือ “วิจารณญาณ” ของมนุษย์ที่เป็นผู้บริหารเท่านั้นโดยไม่ยอมให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอิทธิพลมากกว่า
            5.  ทักษะในการสร้างรูปแบบ  หรือสถานการณ์จำลอง  (Simulation  or  Modeling  of  Reality)  ทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง  เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมขึ้น  เป็นทักษะที่จะช่วยให้ผู้บริหารมีกระบวนการในการตัดสินใจ  และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการบริหารและจัดการได้
พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
            1.  การใช้ Multimedia ในการโฆษณาขายสินค้า การฝึกอบรม และในธุรกิจบันเทิง
            2.  CD – ROM (Compact – Disc – Read only Memory) ใช้เป็นแหล่งบรรจุข้อมูลเพื่อการอ้างอิง
            3.  มีการใช้ Scanner สามารถบันทึกข้อมูล ภาพ ได้เหมือนจริง
            4.  เทคโนโลยีการย่อข้อมูล สายโทรศัพท์สามารถส่งสัญญาภาพได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม
            5.  Video conferencing and Videophone หรือ การประชุมทางสายโทรศัพท์โดยสามารถเห็นผู้เข้าร่วมประชุมผ่านหน้าจอรับภาพ จะถูกนำมาใช้ในการจัดประชุม
            6.  จะมีการพัฒนาระบบการจำเสียง (Speech Recognition) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น การสั่งงานคอมพิวเตอร์สามารถใช้คำพูดหรือเสียงสั่งงานได้
            7.  จะมีการสร้างภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งให้ความเหมือนเช่นเดียวกับการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายวีดิทัศน์
            8.  Virtual Reality หรือความจริงเสมือนจะถูกนำมาสร้างขึ้นด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ผู้ใช้เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง เพื่อจุดประสงค์ของการฝึกอบรมเฉพาะด้าน พบเห็นได้ในห้างสรรพสินค้าและสถานที่เล่นเกม
            9.  การสั่งงานหรือโปรแกรมอุปกรณ์ไฟฟ้า จะใช้ภาษาพูดเป็นคำสั่งในการสั่งการ หรือโปรแกรมอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมทั้งเครื่องเล่นวีดิทัศน์ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ด้วยภาษาพูด
            10. Personal  Digital  Agents  (PDAs)  เครื่องตอบรับหรือต้อนรับ  เพื่อให้บริการแก่บุคคลอัตโนมัติ  โดยไม่ใช้คนคอยช่วยจะนำมาใช้แทนคน  เช่น  เครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ  เครื่องมือตอบคำถามข้อมูลทั่วไป  เช่น  เวลา  อุณหภูมิ  สภาพจราจร  ปัญหาสุขภาพ  การเดินทาง  ข้อมูลทางธุรกิจ  ตลาดหุ้น  การจองสายการบิน  การเช่ารถ  ในสถานศึกษาได้แก่  การลงทะเบียนเรียน  การขอดูผลการเรียน  การนัดหมายอาจารย์  และที่ปรึกษา  เป็นต้น  ในภาคธุรกิจเป็นเครื่องมือที่ใช้บริหารลูกค้า  หรือผู้มาติดต่อแทนการใช้พนักงาน
            11. Expert–in–a–Box เป็นการใช้เทคโนโลยี PDAs ในการให้คำปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญจะทำหน้าที่ขายบริการคำปรึกษาผ่านระบบนี้ต่อไป คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งมีค่าที่ต้องแลกด้วยค่าบริการ
            12. บุคลากรด้านสาธารณสุขจะทำงานผ่านระบบ PDAs เพื่อวินิจฉัยโรคและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ
            13. คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีแป้นพิมพ์ (Keyboard) มีวางขายในท้องตลาด
            14. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบไร้สายมากขึ้น แม้แต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องทำงานเดียวกัน
            15. ระบบการจำเสียงสั่งงาน (Speech Recognition) โดยคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับคำสั่งจากคำพูดของมนุษย์  เป็นสิ่งปกติทั่วไปของคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับคำสั่งด้วยคำพูดได้ และจะมีระบบที่พัฒนาแทนการสั่งด้วยแป้นพิมพ์ หรือกดปุ่มที่ใช้ร่วมกับ Mouse อย่างปัจจุบัน
            16. มีคอมพิวเตอร์ ที่จะสามารถทำให้ระบบโทรศัพท์เพิ่มจำนวนคู่สนทนาได้มากขึ้นและสามารถพูดได้พร้อม ๆ กันจำนวนมากขึ้นด้วย
            17. PDAs จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยให้สามารถเลือกใช้ข้อมูลบริการแก่ลูกค้า หรือผู้ต้องการได้อย่างกว้างขวางทั่วโลกผ่านระบบเครือข่าย
            18. จะมีเพื่อนตามสายในเครือข่าย (Network Friends) โดยที่ไม่เคยพบกันมาก่อน
            19. เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา  จะถูกนำมาใช้โดยมีระบบการตอบรับ  หรือให้คำปรึกษาอัตโนมัติ  (PDA)  เปรียบเสมือนมีที่ปรึกษาประจำตัวตลอดเวลา  นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถสั่งการให้อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง    ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน  ทำให้ได้ตามความประสงค์  เช่น  เปิดแอร์บ้าน
            20. รัฐบาลจะขยายการใช้คลื่นวิทยุ ให้มีการเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณและความถี่มากขึ้น โดยคลื่นวิทยุจะนำไปใช้เพิ่มสถานีวิทยุ สถานีวิทยุโทรทัศน์ และนำไปใช้ในอุปกรณ์สื่อสาร เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น และยังใช้คลื่นวิทยุในการส่งข้อมูลเพื่อการสื่อสารในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแทนการใช้สายเคเบิล
            21. คอมพิวเตอร์จะช่วยสามารถสร้างงาน และแก้ปัญหาที่ใช้ความสามารถเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถทำได้
            22. หุ่นยนต์ที่นำมาใช้งานจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสั่งการ และควบคุมการทำงานได้อย่างดีเกินกว่าที่มนุษย์ทั่วไปจะทำได้ สามารถนำมาใช้งานแทนคนได้ หรือใช้ในกรณีที่ใช้คนไม่ปลอดภัย ในปัจจุบันมีหุ่นยนต์ (Robot) ที่มีผู้คิดค้นขึ้นมาหลายแบบ ซึ่งถือว่าปัจจุบันเป็นยุคคอมพิวเตอร์ในยุคปัญญาประดิษฐ์ การบังคับโดยการใช้รีโมทคอนโทรล
            เมื่อผู้บริหารเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ  ก็จะทำให้สามารถนำมาใช้ให้เหมาะสม  ก็จะเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย  และทำให้งานรวดเร็วและมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพด้วย
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2. ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3. การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4. ช่วย ในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5. ช่วยใน การจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใช้สารสนเทศ 
6. ช่วย ในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
7. ช่วยในการ สื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ  

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น

1.       การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ  ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2.       การดำรงชีวิตประจำวัน  ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3.       การดำเนินธุรกิจ  ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น  ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาอัน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4.       อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย  รวดเร็วถูกต้องและทำให้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน
5.       ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น   งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว 

บทบาทของผู้บริหารในส่วนที่ดีตามสภาพความเป็นจริงของโรงเรียน

         นักบริหารการศึกษายุคใหม่ต้องมีคุณสมบัติอันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ นักบริหารต้องมีวิสัยทัศน์  มีความเป็นผู้นำที่สามารถจูงใจคนได้  ขายความคิดใหม่ ๆให้คนยอมรับสามารถวางแผนงานอย่างมีระบบเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการพัฒนา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการพัฒนางานด้านไอทีนั้นก็คือผู้บริหารนี่แหละถ้าผู้บริหารเอาใจใส่ สนับสนุน ก็เชื่อแน่ว่าจะประสบความสำเร็จแต่ถ้าผู้บริหารทำในทางตรงกันข้าม ก็มักจะล้มเหลวไม่เป็นท่า                  
            ท่าทีของผู้บริหารส่งผลต่อความสำเร็จของงานด้านไอทีผู้บริหาร และยังบอกสูตรการแสดงบทบาทการนำด้านไอทีของผู้บริหารไว้ ดังนี้ครับ
1.       ต้องแสดงความสนใจ อย่างน้อยต้องเข้าร่วมประชุมโครงการครั้งแรก (Kick Off Meeting)
2.       ชี้แจงนโยบาย และวัตถุประสงค์ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของลูกน้อง ให้ ทีมงานเข้าพบเพื่อสอบถามข้อขัดข้อง   สงสัยต่าง ๆ ได้โดยสะดวกเสมอ
3.       คอย ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบไอทีต่างๆ
4.       จัดสรรงบประมาณอย่างมีเหตุผล เพื่อค่าใช้จ่ายในหลาย ๆ ส่วน   เป็นต้นว่าค่าฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์   ค่าบุคลากร   ค่าบำรุงรักษา   ค่าฝึกอบรม  ค่าของใช้สิ้นเปลืองต่าง ๆ
5.       ต้องทราบ และเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์เป็นงานที่มีความเคลื่อนไหว (พลวัต)ไม่หยุดนิ่ง และไม่ใช่ซื้อคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ทุกอย่างตามมาโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรอีก
         ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านจือแร คือ ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วม ผู้บริหารมีศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ ซึ่งคุณลักษณะที่สำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับนักวิชาการ กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.       เฉลียวฉลาด แต่ไม่อวดฉลาด
2.       มีความสามารถรอบด้าน (Well rounder)
3.       มีพลังผลักดันภายใน (Inner drive) ให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ
4.       ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือ (Integrity)
5.       กล้าหาญทั้งกายและใจ (Courage physically and morally)
6.       มีความคิดริเริ่ม (Initiative)
7.       รู้จักวิธีส่งเสริมและบำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชา
8.       การเสียสละปราศจากการเห็นแก่ตัว
9.       มีความยุติธรรม (Justice)
10.   วางตัวดี (Bearing)
11.   กระตุ้นให้ผู้น้อยมีความภูมิใจในงานของตน
12.   ให้เกียรติในผลงานที่ผู้น้อยได้ปฏิบัติ
13.   ปฏิบัติงานอย่างเป็นทีม ให้ทำงานแทนกันได้
14.   ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ และมีการพัฒนาฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ
          เมื่อก้าวล่วงมาถึงยุคปัจจุบัน จากกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการคือ การปฏิรูปการศึกษา มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ ในการบริหารจัดการงานด้านการศึกษาต่างๆ หลั่งไหลเข้ามาในระบบโรงเรียนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง หากผู้บริหารจะยังคงยืนนิ่งอยู่ไปวันๆยึดสุภาษิต “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” หรือคติว่า อยู่เฉยๆรอดูเขาไปก่อนถ้าจำเป็นจริง  ก็ลอกเขาก็ได้แล้วละก้อ คงจะต้องจมน้ำตายหรือถูกกระแสน้ำพัดหายไปจากระบบในไม่ช้า ผู้แกร่งกล้าเท่านั้นที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างสมภาคภูมิ ได้รับการยอมรับและยกย่องจากวงสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องสร้างศักยภาพของตนเองให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เพื่อให้สอดรับกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามความคาด หวังของสังคม
         ผู้บริหารเป็นผู้ที่ต้องทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยอาศัยคนอื่น ดังนั้นผู้บริหารที่ ดีควรที่จะมีคุณสมบัติของผู้นำควบคู่ไปด้วย ดังนี้
        1.  มีภาวะผู้นำ มีศิลปะในการครองใจคน สามารถจูงใจคนให้เต็มใจร่วมมือหรือให้การสนับสนุน   เป็นนักประสานความาเข้าใจของทุกฝ่าย สามารถบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลและประสานประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้
        2.  มีเมตตาธรรม  ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ  คือลำเอียงด้วยความชังหรือรัก  ไม่เอาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  การตำหนิหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาต้องลงโทษด้วยเมตตา  ไม่ใช่ด้วยอารมณ์โกรธแค้นส่วนตัว  นักบริหารที่เป็นผู้นำขององค์กรยังต้องรู้จักสละประโยชน์ส่านตน  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมต้องรู้จักแสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานและลูกน้องในโอกาส อันสมควร  และสิ่งที่สมควรที่จะต้องมีอย่างยิ่งคือ  ความรู้จัดอดกลั้น  และอดทน  ทั้งทางอารมณ์และจิตใจ  สุดท้ายคือการรู้จักให้อภัย  ไม่อาฆาตแค้น  เรื่องที่แล้วก็ให้แล้วกันไป  ถ้าผู้บริหารมีเมตตาธรรมรู้จักให้อภัย  จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
        3.  ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง ในการทำงาน ถ้ามีหลักการที่ชัดเจน การทำงานก็จะง่าย สะดวกเร็วขึ้น มีความเป็นธรรม และตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำ
        4.  เป็นนักคิด นักวิเคราะห์   นักบริหารที่ดีต้องคิดสร้างสรรค์ให้บังเกิดสิ่งที่เป็นไปได้ และ ต้องมีความสามารถในการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยง มองถึงองค์กรรวมของปัญญาทั้งหมด นอกจากการคิดอย่างมีระบบแล้วยังต้องรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        5.  มีการสร้างวิสัยทัศน์  นัก บริหารที่มีความสามารถต้องมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตออก  และคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ  ด้วยสายตาที่กว้างไกล  จากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี  ด้วยการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  มองเห็นภาพรวมทั้งระบบ  ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์  ทันสมัย  จะช่วยกะเก็งเหตุการณ์ในอนาคตได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น  และสามารถตัดสินใจดำเนินการบริหารองค์กรให้เป็นในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม ได้
        6.  มีทักษะหลายด้าน นอกจากจะเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ ยังต้องมีทักษะในเรื่องต่อไปนี้
·         ทักษะในการตัดสินใจ  ต้องมีการจัดการที่ดี  มีทีมงานที่แข็งแกร่ง   มีข้อมูลที่ถูกต้องมากพอและทันสมัย  รู้จักรุก  ในโอกาสและจังหวะเวลาที่ดีและเหมาะสม   รู้จักรอ  เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่สมควร
·         ทักษะในการวางแผน  ทั้งแผนขององค์กร (แผนแม่บท)  และแผนกลยุทธ์  เป็นยุทธศาสตร์ที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์  โดยกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานไว้ล่วงหน้า  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินตามแนวทางทีกำหนดไว้ได้โดยสะดวก  มีการกำหนดแผนระยะสั้น  ระยะยาว  เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ในแต่ละขณะได้ อย่างเหมาะสมลงตัว
·         ทักษะในการจัดองค์กร  กำหนดโครงสร้างขององค์กรให้มีรูปแบบเหมาะสมกับพันธกิจและภารกิจขององค์กร  วางตนให้เหมาะสมกับงานที่ถนัด  สร้างทีมงานที่ดี  ขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานด้วยวิธีละมุนละม่อม  บางครั้งอาจต้องใช้ความเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด ก็ต้องทำ
·         ทักษะในการแก้ไขปัญหา  พึงระลึกไว้เสมอว่า  ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน  จึงเป็นเรื่องธรรมดา  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ดูว่าปัญหาใดเป็นปัญหาหลัก ปัญหาใดเป็นปัญหารอง  ปัญหาใดสำคัญเร่งด่วน  ที่สำคัญ  ผู้บริหารต้องไม่กระทำตัวเป็นปัญหาเสียเอง
·         ทักษะในการสร้างทีมงาน ต้องสามารถสร้างทีมงานที่ดี มีฝีมือให้เหมาะสมในแต่ด้าน  จัดมือทำงานไว้เป็นสตาฟท์ (Staff)  ช่วยคิด  ช่วยกลั่นกรองงาน              
         7. รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย  เพราะการมีข้อมูลที่ดี  ช่วยให้การตัดสินใจถูกแม่นยำขึ้น จึงต้องรู้ลึก  รู้รอบ  รู้กว้าง  รู้ไกล  กระตือรือร้นอยู่เสมอ  เป็นนักอ่าน  ขยันใฝ่หาความรู้  ช่างสังเกต  รู้จักฟัง
         8. รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย   รู้ ว่าขณะนี้ตนเป็นใคร มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร เพื่อที่จะสวมบทบาท และแสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เข้าไปก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น
         9. กล้าตัดสินใจ ในหลักวิชาการบริหาร กล่าวกันว่า สิ่งที่ยากที่สุดของนักบริหารคือ การตัดสินใจ แม้จะมีข้อมูลครบถ้วนในมือแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะขาดความมั่นใจ กลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น องค์กรใดที่มีผู้บริหารแบบนี้องค์กรนั้นคงเจริญเติบโตได้ยาก มองไม่เห็นอนาคตด้านความเจริญก้าวหน้า
        10. มียุทธวิธีและเทคนิค กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานส่วนเทคนิคจะช่วย ประหยัดเวลา และทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ 
        11. รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น  จะช่วยลดความขัดแย้งและขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้มาก
        12. รู้จักการเจรจาต่อรอง ไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ไม่มีใครได้ทั้งหมด และต้องไม่ใครเสียทั้งหมดต้องได้ทั้งสองฝ่าย (Win – Win) บางครั้งต้องรู้จัก แพ้เพื่อชนะ
        13. ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้    การสร้างสัมพันธภาพอย่างไม่เป็นทางการ มีความสำเร็จขององค์กรอย่างสูง ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย ย่นระยะเวลา ลดพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ
        14. รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า   นับตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ ทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งเวลาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการทำงาน
        15. เป็นนักประชาธิปไตย นักบริหารต้องใจกว้างพอจะยอมรับความแตกต่างทางความคิด และต้องอยู่ท่ามกลางความแตกต่างให้ได้ พร้อมทั้งต้องพยายามประสานความค่างนั้นให้เกิดประโยชน์เชิงสร้างสรรค์
        16. กระจายอำนาจเป็น โดยดูจากการกระจายอำนาจหน้าที่ และความรู้ผิดชอบไปสู่มือทำงานเพื่องานจะได้สำเร็จลุล่วง เรียบร้อย รวดเร็ว มอบหมายงานที่มีความสำคัญให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาให้เขารู้จักผิดชอบ สูงขึ้น เปิดโอกาสให้เขาเป็นเจ้าของงานและตัดสินใจในงานชิ้นสำคัญ ๆ ให้ความรู้สึกในด้านจิตวิทยา ให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความริเริ่มสร้างสร้างในสิ่งใหม่ ๆ และเป็นประโยชน์
         17. รู้จักทำงานในเชิงรุก มุ่งผลงานในเนื้องานเป็นหลักมากว่ารูปแบบหรือพิธีการ เป็นฝ่ายเริ่มต้นกระทำก่อนในสิ่งที่ถูกต้อง และจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จ
         18. พิจารณาคนเป็น นักบริหารต้องเชื่อในความสามารถของคนอื่นด้วย มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพและความสามารถในทางใดทางหนึ่งเสมอ นักบริหารที่มีความสามารถจึงต้องมองคนให้เป็นใช้คนให้ถูก ใช้ให้ถูกคนและถูกงาน ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องของส่วนรวมโดยเด็ดขาดสังคมไทยมักจะแยกไม่ ค่อยออก
          19. โปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นหนึ่งในการบริหารการจัดการที่ดี (good governance) แสดงถึงความสุจริตใจในการทำงาน ต้องเปิดเผย ชัดเจน ตรงไปตรงมา ตอบคำถามของสังคมได้
          20. รู้จักควรไม่ควร รู้จักความพอดี เป็นเรื่องยากที่จะบอกอย่างไรจึงพอดี ขึ้นอยู่กับสติปัญญาวิจารณญาณและประสบการณ์ของแต่ละคน ที่จะเรียนรู้ความพอเหมาะพอดี ต้องรู้จักงาน รู้จักดี   รู้จักชั่ว แยกแยะออกได้อย่างชัดเจน
          บทบาทของผู้บริหารนั้นจะต้องใช้ศาสตร์และ ศิลป์ในการบริหารเพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานหรือสถาบันนั้นๆให้บรรลุ จุดมุ่งหมายขององค์การโดยอาศัยหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญ   คือการวางแผน(Planning)  การจัดการองค์การ(Organizing) การนำ(Leading) และการควบคุม(Controlling)การบริหารโรงเรียนเป็นการดำเนินงานที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพซึ่งเป็นหน้าที่ ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว  การบริหารโรงเรียนเป็นการร่วมมือกันทำงานของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ จัดการศึกษาเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์กับการศึกษามากที่สุดผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถทักษะทัศนคติค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหารมีภาวะผู้นำสามารถบริหารโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมาย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

แหล่งอ้างอิง
ทวีศักดิ์ ทิพย์รอด. (2552). ผู้บริหารยุค IT. ค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2556, จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/316674
ซอฟท์บิส พลัส, บริษัท จำกัด. (มปป.). บทบาทของผู้บริหารยุค IT. ค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2556, จาก             http://www.softbizplus.com/it/660-administrator-and-it

กัลยาณี สูงสมบัติ. (2550). บทบาทผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัฒน์. ค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2556, จาก             http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/index-L4.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น