บทที่ 3 หน่วยการทำงานที่สำคัญ (1 ชม.)
|
|
| หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) บางทีก็เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) หรือ ชิป (Chip) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นในระบบ |
| § ลักษณะของซีพียู | เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว ตัวอย่างเช่น ซีพียูรุ่นเพนเทียม จะมีทรานซิสเตอร์เล็กๆจำนวนมากถึง 3.1 ล้านตัว ซีพียูมีหน่วยที่ใช้ในการบอกขนาดของการคำนวณเรียกว่า บิต (Bit)ถ้าจำนวนบิตมากจะสามารถทำงานได้เร็ว ซีพียูปัจจุบันทำงานที่ 32 บิต | § ความเร็วของซีพียู (Speed) | มีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮริตซ์ (MHz = MegaHertz) ถ้าค่าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ายิ่งมีความเร็วมาก ปัจจุบันความเร็วของซีพียู สามารถทำงานได้ถึงระดับ กิกะเฮริตซ์ (GHz = Gigahertz) โดยมีความเร็วระหว่าง 2-3GHz ในการเลือกใช้ซีพียู ผู้จำหน่ายจะบอกไว้ว่า เครื่องรุ่นนี้มีความเร็วเท่าไหร่ เช่น Pentium IV 2.8 GHz หมายความว่าเป็น CPU รุ่นเพนเทียมโฟว์ มีความเร็วในการทำงานที่ 2.8 กิกะเฮริตซ์ | § ซีพียูรุ่นต่างๆ | โดยทั่วไปมีผู้ผลิตซีพียูหลักๆ คือ บริษัท Intel, AMD, Cyrix และMotorola โดยบริษัท Intel เป็นผู้นำในการผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก | |
| |
| ตัวอย่าง CPU ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows |
| 1. ซีพียู Pentium, Pentium II, Pentium III, Pentium IV เป็นซีพียูรุ่น 486 ของบริษัทอินเทล มีขนาดการเข้าออกของข้อมูลขนาด 32 บิต ภายในมีส่วนคำนวณแบบขนาน สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายๆคำสั่ง โดยเฉพาะ Pentium IV ถือว่าให้ประสิทธิภาพสูงมาก เหมาะสำหรับการใช้งานด้านมัลติมีเดีย 2. ซีพียู AMD เป็นของบริษัท AMD เป็นบริษัทที่ผลิตซีพียูที่สามารถใช้งานกับระบบปฏิบัติการWindows ได้ เช่นเดียวกับซีพียูของอินเทล 3. ซีพียูเซเลรอน (Celeron) เป็น ซีพียู ของบริษัทอินเทล |
|
| | | |
|
| หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ |
|
|
| 2.1 หน่วยความจำรอม (ROM) ...
| คำว่า ROM ย่อมาจาก Read Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลแบบถาวร รอมใช้บันทึกรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ (harddisk) ที่ใช้ ปริมาณความจุของแรม (RAM) หน่วยประมวลผล(CPU) ที่ใช้ การติดตั้งฟลอปปี้ไดรฟ์ (floppy drive) เป็นต้น ข้อมูลที่บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่อง หน้าที่ของรอมคือจะตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง ที่ติดตั้งใช้งาน หากตรวจสอบไม่อุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น ไม่พบฮาร์ดดิสก์ ซีพียู หรือแรม รอมจะหยุดการทำงาน | |
| 2.2 หน่วยความจำแรม (RAM) ...
| คำว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็น เป็นหน่วยเก็บข้อมูลหลัก แต่เป็นการเก็บแบบชั่วคราวของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก RAM สามารถส่งข้อมูลให้กับ CPU ได้ด้วยความรวดเร็ว (เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปี้ดิสก์ หรือหน่วยเก็บข้อมูลอื่นๆ) แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลใน RAM จะสูญหายทันที เมื่อปิดเครื่อง การใช้งานจริง จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสก์ก่อนปิดเครื่อง |
| |
|
|
| หน่วยความจำแรม มีหน่วยวัดเป็น ไบต์ (byte) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าจะนิยมใช้หน่วยความจำแรม 8 หรือ 16 เมกะไบต์(Megabyte) แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะใช้แรมขนาด 128 MB หรือ 256 MB ขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมรุ่นใหม่ หรือกับแฟ้มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น งานมัลติมีเดียหรืองานกราฟิกได้ |
| |
| 2.2.1 DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม) ...
| DRAM เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่อง นิยมใช้มากในสมัยก่อนเพราะราคาไม่แพง แต่ทำงานได้ช้ามากปัจจุบันมีการใช้ SDRAM (Synchronous DRAM) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ในสมัยก่อนอาจจะมีราคาสูง แต่ปัจจุบันราคาได้ถูกลงมาก คนจึงนิยมใช้ SDRAM มากขึ้น | |
| 2.2.2 SIMM (ซิม) ...
| เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับติดตั้งหน่วยความจำ ติดตั้งบนเมนบอร์ด เราสามารถเพิ่มจำนวนแรมโดยเสียบแผงวงจรเข้ากับซิมนี้ เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มแรมได้อย่างง่ายๆสะดวก รวดเร็ว และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนั้นข้อจำกัดของการเพิ่มแรม คือ จำนวนช่องของ SIMMและขนาดของแรมแต่ละแผง ที่นำมาเสียบลงบน SIMM | |
| 2.2.3 หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) ...
| หมายถึง หน่วยความจำประเภทหนึ่งใช้สำหรับแสดงผล เป็นหน่วยความจำที่ถูกสร้างขึ้นมาในกรณีที่หน่วยความจำแรมไม่พอใช้ โดยระบบ ปฏิบัติการจะมีการนำเอาพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์บางส่วนมาเป็นพื้นที่ทำงานชั่วคราวในขณะเปิดแฟ้มข้อมูล และจะลบทิ้งเมื่อปิดแฟ้มข้อมูล เราจึงเรียกว่า "หน่วยความจำเสมือน" ข้อเสียของการใช้หน่วยความจำเสมือนคือ ถ้าพื้นที่ว่างมีน้อยกว่าที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลง การใช้งานฮาร์ดดิสก์จึงมักจะให้มีเนื้อที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เหลือไว้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ | |
| ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น เราจะต้องเลือกขนาดของแรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะโปรแกรมปฏิบัติการ (OS) รุ่นใหม่ๆ เช่น Windows ME, Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการขนาด 32 บิต ควรใช้แรม 128 MBขึ้นไป หากใช้แรมน้อยกว่านี้เครื่องอาจจะทำงานช้ามากหรืออาจหยุดชะงักได้ง่าย | | |
|
| 3.1 หน่วยความจำแคช (Memory Cache) ...
| หน่วยความจำแคชเป็นหน่วยความจำที่ช่วยให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่ ซีพียูเคยเรียกใช้แล้ว เอาไว้ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้ก็มาเรียกข้อมูลจากแคช ซึ่งจะอ่านข้อมูลได้เร็วกว่าอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำดิสก์มาก |
| หน่วยความจำแคช มี 2 ประเภท คือ...
| แคชภายใน...
| ติดตั้งอยู่ภายในซีพียู เวลาเครื่องประมวลผล ก็จะเรียกเก็บข้อมูลที่เก็บไว้ที่แคชใกล้ๆ ซีพียูมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว | |
| แคชภายนอก...
| จะติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเหมือนแรม ถ้าเครื่องไม่พบแคชในซีพียูก็จะมองหาแคชภายนอก ถ้าพบก็จะนำมาใช้งาน ซึ่งก็จะทำงานได้ช้ากว่าแคชภายในอยู่บ้าง | | | |
| 3.2 บัส (Bus) ...
| เป็นเส้นทางวิ่งระหว่างข้อมูลหรือคำสั่ง ที่อยู่บน Main board เช่น จาก Extension slot ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ จากหน่วยบันทึกข้อมูล ไปยัง RAM หรือ จาก RAM ไปยัง CPU |
| §การวัดขนาดความกว้างของบัส | เราเรียกว่า "บิต" 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร | §ส่วนความเร็วของ บัส | วัดด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (Mhz) หรือหนึ่งล้านรอบต่อวินาที | |
| บัสที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ บัสแบบ PCI (Peripheral Component Interconnect) มีความกว้างของสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลถึง 32 หรือ 64 บิต ความเร็วมากกว่า 300 MHz ขึ้นไป นอกจากนี้ PCI ยังสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play ที่ใช้ในการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ใหม่ด้วย |
|
| | |
|
| หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง สาเหตุที่เรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพราะคอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากแรม ที่เป็นหน่วยเก็บข้อมูลหลักก่อน และหากข้อมูลที่ต้องการไม่มีในแรม ก็จะทำการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองไปเก็บไว้ที่แรมก่อน ทั้งนี้เพราะหน่วยเก็บข้อมูลหลัก สามารถทำงานติดต่อกับซีพียูได้ด้วยความรวดเร็วกว่าหน่วยความจำสำรอง แต่หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง มีข้อดีคือ สามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก |
| หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภทดังนี้ |
| 4.1 ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ...
|
| หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็ก ทรงกลม มีพลาสติกแข็งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครอบไว้ชั้นนอก ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถจุข้อมูลได้ 1.44 MB ก่อนการใช้งานจะต้องทำการฟอร์แมตแผ่นก่อน |
| ปัจจุบันแผ่นดิสเก็ตต์จะฟอร์แมตมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว สามารถนำมาใช้งานได้ทันที การใช้งานจะสอดแผ่นในเครื่องอ่านฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านและเขียนแผ่นดิสก์ ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังของเครื่อง ฟลอปปี้ดิสก์เก็บข้อมูลได้ไม่มากนัก เหมาะสำหรับการพกพา เพราะมีขนาดเล็กสามารถนำข้อมูลไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้สะดวก |
|
| | |
| 4.2 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ...
| เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์หลายล้านเท่า ฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่องพร้อมกับอุปกรณ์อื่นๆ มีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว แต่มีความหนากว่าฟลอปปี้ดิสก์ มีตัวอ่านข้อมูลอยู่ภายใน ในปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 40 กิกะไบต์ (GB) ขึ้นไป จึงสามารถเก็บข้อมูลได้มาก โปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบันต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก โดยเฉพาะโปรแกรมประเภทกราฟิกหรือมัลติมีเดีย จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากพอจึงจะใช้งานได้ |
|
| |
| 4.3 ซีดี–รอม (CD-ROM) ...
| ย่อมาจากคำว่า Compact Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากราคาไม่แพง มีอายุการใช้หลายปี และมีขนาดเล็ก ซีดีรอมเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสง เพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ |
|
|
| ปกติซีดีรอมในปัจจุบัน มีความจุประมาณ 700 MB หรือเท่ากับหนังสือประมาณ 700,000 หน้า หรือเท่ากับฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 1.44 MB ถึง 700 แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้มาก โดยเฉพาะงานด้านมัลติมีเดียทั้งภาพ แสง เสียง ในเวลาเดียวกัน | |
| 4.4 DVD-ROM : (Digital Video Disk Read – Only Memory) ...
| เป็นหน่วยเก็บข้อมูลรองชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากลักษณะคล้ายซีดีรอมแต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอมหลายเท่า คือ ขนาดมาตรฐานเก็บข้อมูลได้ 4.7 GB หรือ 7 เท่าของซีดีรอม และพัฒนาต่อเนื่องไปตลอด |
|
|
| ดีวีดีแผ่นหนึ่งสามารถบรรจุภาพยนตร์ความยาวถึง 133 นาทีได้โดยใช้ลักษณะการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และระบบเสียงแบบดอลบี (Dolby AC-3) ปัจจุบันดีวีดีจึงนิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์และมัลติมีเดีย ซึ่งต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่าแผ่น CD-ROM |
| เปรียบเทียบคุณสมบัติ CD-ROM & DVD-ROM ...
| คุณลักษณะ | CD-ROM | DVD-ROM | ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา ระยะห่างระหว่างแทร็ก ขนาดของหลุมที่เล็กที่สุด ความจุของเลเซอร์ ความจุของ 1 ด้าน ความจุสูงสุดของ 1 แผ่น อัตราการส่งผ่านข้อมูล | 120 มม. 1.2 มม. 1.6 ไมครอน 0.834 ไมครอน 682 MB 682 MB 682 MB 153 KB/วินาที | 120 มม. 1.2 มม. 0.74 ไมครอน 0.74 ไมครอน 4.7 GB 4.7-8.5 GB 17 GB 1.385 MB/ วินาที | | | | | |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น